Author Archives: superauu

SUPP ทำความรู้จัก “GoalsMapper”

“ถ้าคุณงดกินกาแฟ หรือซื้อร้านที่ถูกลงนาน 1 ปี ก็จะเหลือเงินไปเที่ยวต่างประเทศสบายๆ”✈️“ถ้าคุณเลิกจ่ายค่าบริการสตรีมมิ่ง ก็จะเหลือเงินเอาไปลงทุนในคริปโต” คุ้นๆ ไหม ฟังแล้วรู้สึกตั้งคำถามขึ้นมาเลยใช่ปะ จริงๆ เราก็ไม่ชอบที่จะไปตัดสินการใช้เงินของคนอื่นทั้งที่ไม่รู้จักกันมาก่อนอะ เรียกว่าเสียมารยาทเลยก็ได้ เพราะต้องยอมรับว่าเงินซื้อความผ่อนคลายได้จริง การใช้เงินยังทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจในการจับจ่าย เพิ่มความมั่นใจขึ้นได้มาก แต่ประโยคที่เราเห็นแล้วรู้สึกไม่เชื่อเลยก็คือ “ระวังค่าใช้จ่ายแฝงที่เยอะเกินไปแบบไม่รู้ตัว”☠️ สมมติอย่างงี้นะ คุณเป็นพนักงานบริษัทเงินเดือนประมาณ 50,000 บาท มีค่าใช้จ่ายประจำต่อเดือนประมาณ 30,000 บาท อีก 20,000 บาทคือเงินออมหรือเงินเพื่อการลงทุน คุณมีเป้าหมายว่าพออายุ 45 จะลาออกจากงานประจำแล้วมีเงินเก็บสัก 10 ล้านบาท ถ้าตั้งหน้าเก็บเงินอย่างเดียวแบบไม่ลงทุนเลยสัก 20 ปีคุณก็น่าจะมีเงินประมาณ 5 ล้านบาท แต่ถ้าลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนไปด้วยก็น่าจะเข้าใกล้เงิน 10 ล้านบาทได้เร็วขึ้น แต่ ☝🏻ไม่คิดว่าในระหว่างนี้จะต้องเสียเงินไปกับการรักษาสุขภาพของตัวเองและครอบครัวบ้างหรอ☝🏻ไม่คิดว่าในระหว่างนี้จะต้องซื้อรถ หรือซื้อบ้าน หรือซื้อทรัพย์สินชิ้นใหญ่บ้างหรอ☝🏻ไม่คิดว่าในระหว่างนี้จะต้องไปเที่ยวต่างประเทศกับแฟนหรือครอบครัวบ้างหรอ เพราะชีวิตในความเป็นจริงมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้นที่คิดว่าเก็บเงินเท่าไหร่จะเหลือเงินเท่านั้น #GoalsMapper เลยเป็นเครื่องมือใหม่ที่เราอยากแนะนำให้คุณลองใช้มันจริงๆ เพราะไม่ใช่แค่คำนวณการลงทุนจากรายรับรายจ่ายของแต่ละคน แต่ยังสามารถสร้างสถานการณ์สมมติขึ้นมาได้ว่าถ้าในระหว่างทางคุณเจอวิกฤตการเงิน ทางออกที่ดีที่ยังไม่ทำให้คุณล้มละลายคืออะไร 🔈สำหรับคนที่อยากลองใช้ สามารถทำตามขั้นตอนได้ง่ายๆ ตามนี้เลย 🔸1. ทักหา […]

LiteracyFight เก็บเงินให้มีใช้จนถึงวันสุดท้ายของชีวิตด้วยหลัก

“อยากมีเงินใช้ตลอดไป ก็ต้องมีวินัยในการออม” ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าการเก็บเงินให้ได้เยอะเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็มีเงื่อนไขในชีวิตมากมายที่เราทำอย่างนั้นไม่ได้ รู้ไหมว่าคนไทยส่วนใหญ่มีเงินในบัญชีไม่ถึง 50,000 บาท ส่วนคนที่มีเงินเก็บเกิน 1 ล้านบาทก็มีไม่ถึง 1% ในประเทศไทยเลย เรื่องแบบนี้ไม่เกี่ยวกับความเก่งและความขยัน แต่สะท้อนว่าความเหลื่อมล้ำเรื่องรายได้มีอยู่จริง และคนส่วนใหญ่ก็ไม่เคยได้รับความรู้เรื่องความฉลาดทางการเงิน (Money Literacy)💡 ☝🏻ยกตัวอย่างให้ฟัง สมมติว่าบอสทำงานได้เงินเดือน 30,000 บาท มีรายจ่ายประจำต้องเสียประมาณ 50% (ค่ารถ ค่าบ้าน ค่าให้พ่อแม่ หรืออื่นๆ ที่ต้องจ่ายทุกเดือน) อีก 15,000 ที่เหลือ บอสตัดสินใจจะเก็บเข้าธนาคารเดือนละ 5,000 บาท ส่วนก้อน 10,000 เอาไว้ใช้จ่ายทั่วไป ถ้าเหลือค่อยเอาเข้าบัญชีไปสะสม นั่นหมายถึงบอสจะมีเงินเก็บ 60,000 บาทต่อปี แต่ถ้าบังเอิญเกิดอุบัติเหตุ ความเจ็บป่วย หรือมีอุปกรณ์ในการทำงานเสีย บอสก็อาจจะไม่เหลือเงินเก็บในปีนั้นเลยก็ได้ จริงๆ ต้องบอกว่าบอสค่อนข้างเป็นคนมีวินัยในการใช้เงิน แต่อาจจะยังขาดหลักการเก็บเงิน ที่น่าจะช่วยให้เขาวางแผนการเงินได้เห็นภาพระยะยาวมากขึ้น ‘พีระมิดการเงิน’ นี้อาจจะช่วยให้คุณและบอสเก็บเงินได้อย่างเป็นระบบและป้องกันความเสี่ยงได้ดีขึ้นก็ได้ 📍ขั้นที่1: โอนย้ายความเสี่ยงอยู่ด้านล่างสุด เป็นรากฐานแห่งความมั่นคงและเป็นขั้นสำคัญที่จะช่วยพยุงให้เราไม่ล้ม เงินสดสำรองหมายถึงเงินที่เตรียมไว้เพื่อเหตุฉุกเฉิน […]

SmartPay 50-30-20 หลัก Shopping ยังไงก็ยังมีเงินเหลือ!

เป็นเรื่องปกติมากที่เราจะใช้การช้อปปิ้งมาบำบัดความเครียดที่ต้องเจอในแต่ละวัน ยิ่งเครียดยิ่งซื้อ 🤯 ขออธิบายนิดเดียวว่าที่การช้อปปิ้งคลายเครียดนั้นมาจากอำนาจของการใช้เงินที่เราสามารถควบคุมได้ การช้อปยังทำให้เราอยู่กับตัวเองมากขึ้น และคิดถึงอนาคตมากขึ้นว่าจะเอาของที่ซื้อไปทำอะไร แต่การช้อปของฟุ่มเฟือยในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองก็ต้องมีสตินิดนึง ☝🏻 เชื่อว่าหลายคนเคยเห็นเพื่อนใช้จ่ายอย่างเต็มที่แต่ก็มาเดือดร้อนอย่างเต็มที่ตอนสิ้นเดือนเหมือนกัน หรือไม่ก็ต้องหยิบยืมคนอื่นเพื่อเอาไปใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น เพราะหมดเงินไปกับสิ่งไม่จำเป็นไปเยอะแล้ว อย่างนี้ไม่ดีนะครับ แบบนี้ยิ่งช้อปยิ่งเครียด เคยได้ยินหลักการ 50-30-20 กันไหม? วิธีบริหารจัดการเงินแบบง่ายมากๆ ที่จะช่วยให้เราทุกคนสามารถแบ่งค่าใช้จ่ายได้เป็นสัดส่วน ช้อปปิ้งก็สำคัญ แต่ผ่อนบ้านก็สำคัญเหมือนกัน การตั้งกฎเล็กๆ ให้กับตัวเองจะทำให้เราไม่หลงทาง และซื้อของได้อย่างสบายใจ 📍50 แรกคือส่วนที่เอาไว้ใช้สำหรับรายจ่ายที่จำเป็น เรารู้อยู่แล้วว่าเวลาเงินเดือนออก มีรายจ่ายไหนบ้างที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน เช่น ค่าที่อยู่อาศัย ค่าเดินทาง ค่าอาหาร หรือเงินที่เอาไว้ให้พ่อแม่ก็ตาม ส่วนไหนที่ยังไม่ต้องจ่ายทีเดียวเช่นค่ารถไฟฟ้า หรือค่าอาหาร แนะนำให้แยกไว้อย่างเป็นสัดส่วนอีกที เช่น 5,000 บาทต่อเดือน จะได้ไม่ต้องหมุนเงินใช้ให้วุ่นวาย 📍30 ต่อมาคือรายจ่ายเพื่อความสุข ตรงนี้หละคือโบนัสของการทำงานหนัก อยากเอาไปใช้อะไรก็เชิญเลย ความฟุ่มเฟือยของบางคนอาจไม่ใช่ของแบรนด์เนม แต่เป็นการลงเรียนคอร์สภาษาอังกฤษ หรือคอร์สการเล่นหุ้นเบื้องต้นเพื่อเพิ่มความรู้ให้กับตัวเอง จะทำอะไรก็ได้ไม่ว่ากัน 📍20 ที่เหลือคือเงินเก็บ ถึงแม้จะเรียกว่าเงินเก็บแต่เราอยากให้คุณลองศึกษาเรื่องการลงทุน เช่น ถ้ามีเงินก้อนนี้ 2,000 บาทต่อเดือน แทนที่คุณจะปล่อยให้นอนอยู่ในบัญชีเฉยๆ […]